/
  Search
-A +A
 
 
www.mectechth.com
HOME Contact Payment E-Mail  

www.mectechth.com : Webboard

POST : 8 inverter แบบต่างๆ
View 5044
Ans 0
inverter แบบต่างๆ
mectech

1.อินเวอร์เตอร์แบบ V/F 
          การพัฒนาในด้านวิธีการควบคุมการทำงานของมอเตอร์นั้น  ก็เริ่มจากการควบคุมแรงดันที่หลายขั้ว
ให้มีการเปลี่ยนแปลงตามความถี่ในลักษณะเชิงเส้นที่เราเรียกว่าการควบคุมแบบ V/F (Volts/Hertz ) 
การควบคุมแบบนี้มีข้อดีคือ สามารถใช้กับมอเตอร์ทั่วไปได้ โดยไม่ต้องทราบข้อมูลพารามิเตอร์ภายใน
แต่เนื่องจากเป็นการควบคุมแบบง่ายๆ จึงไม่สามารถให้คุณสมบัติแรงบิด-ความเร็วที่ได้ก็เปลี่ยนแปลง
ตามโหลดจึงเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากค่าที่ตั้งไว้
2.อินเวอร์เตอร์แบบ Flux Vector Control
            ในวิธีการนี้อินเวอร์เตอร์จะทำการควบคุมฟลักซ์แม่เหล็กภายในมอเตอร์ให้มีค่า  คงที่ 
(ส่วนใหญ่จะเป็นฟลักซ์ที่สเตเตอร์)  โดยอาศัยการป้อนกลับของกระแส เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการควบคุม
แรงบิด-ความเร็ว ของการควบคุมแบบ V/F ให้ดีขึ้น ดังแสดงเป็นบล๊อกไดอะแกรมคร่าวๆ ได้ดังรูป 
            ในวิธีการนี้อินเวอร์เตอร์จะต้องทราบข้อมูลพารามิเตอร์ของมอเตอร์ด้วย ถึงจะทำการควบคุม
ฟลักซ์ได้อย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติในย่านความเร็วต่ำก็ยังไม่ดีนักเนื่องจากความไม่เป็นอุดมคติ 
ของสวิตช์กำลังและค่าผิดพลาดของพารามิเตอร์ของมอเตอร์
 
3. อินเวอร์เตอร์แบบ Vector Control (Field-Oriented Control)
           วิธีการควบคุมแบบเวกเตอร์ Vector Control หรือ Field-Oriented Control เป็นวิธีการ 
ควบคุมมอเตอร์เหนี่ยวนำในลักษณะคล้ายคลึงกับมอเตอร์กระแสตรง โดยทั่วไประบบควบคุมจะทำการ
จ่ายกระแสที่ไม่มีเซนเซอร์วัดความเร็วได้ ดังนั้นโดยทั่วไปเรามักจะใช้ระบบควบคุมแบบเวกเตอร์นี้กับงานที่
ต้องการความแม่นยำ และความเร็วในการตอบสนองสูง   
สเตเตอร์ที่มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือส่วนที่สร้างฟลักซ์แม่เหล็กและส่วนสร้างแรงบิด ทั้งนี้การควบคุมทั้งหมด 
จะกระทำอยู่บนแกนอ้างอิงที่หมุนไปพร้อมๆ กับฟลักซ์เวกเตอร์ทางด้านโรเตอร์  ประเด็นสำคัญ
ในการควบคุมชนิดนี้จึงอยู่ที่ว่า เราสามารถหาตำแหน่งของฟลักซ์เวกเตอร์ได้แม่นยำเพียงไร ซึ่งในทางปฏิบัติ
เนื่องจากเราไม่สามารถวัดค่าฟลักซ์ได้โดยตรง  เราจึงใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของมอเตอร์
เหนี่ยวนำช่วย
ในการคำนวณหาค่าฟลักซ์เวกเตอร์นี้แทน  ดังนั้นข้อด้อยของระบบนี้จึงอยู่ที่เราจำเป็นต้องทราบค่า
พารามิเตอร์ของมอเตอร์อย่างถูกต้องจึงจะได้คุณสมบัติการควบคุมที่ดี ข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่งของระบบก็คือ
เราจำเป็นจะต้อง
ทราบข้อมูล ความเร็วหรือตำแหน่งของมอเตอร์ด้วย ซึ่งทำให้เราไม่สามารถนำไปใช้กับระบบ
4.อินเวอร์เตอร์แบบ Direct Torque Control
        Direct Torque Control (DTC) เป็นแนวคิดในการควบคุมมอเตอร์เหนี่ยวนำที่แตกต่างไป
จากการควบคุมแบบเวกเตอร์ (Vector Control) โดยการควบคุมแบบ DTC จะทำการกำหนดรูปแบบ
การสวิตซ์ของอินเวอร์เตอร์โดยตรงไม่ผ่านการทำ  PWM เหมือนกับการควบคุมแบบอื่นๆ 
(ความถี่การสวิตช์จะไม่คงที่)
         ในการควบคุมแบบ DTC อินเวอร์เตอร์จะทำการคำนวณค่าฟลักซ์ทางด้านสเตเตอร์และค่าแรงบิด
โดยอาศัยแบบจำลอองทางคณิตศาสตร์ของมอเตอร์ จากนั้นก็จะนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าตั้ง(setting)
ของทั้งฟลักซ์และแรงบิดผ่านตัวเปรียบเทียบแบบฮิสเตอร์รีซิส สถานะของสัญญาณขาออกของตัวเปรียบเทียบl 
แบบฮิสเตอร์รีซิสจะทำให้เราทราบว่าจะต้องเพิ่มหรือลดฟลักซ์และแรงบิด  ซึ่งข้อมูลนี้ก็จะถูกนำไปใช้ในการ
เลือกรูปแบบการสวิตช์ของอินเวอร์เตอร์จากตาราง Look-up เพื่อให้ได้แรงดันสเตเตอร์ที่เหมาะสม
ที่ทำให้ฟลักซ์และแรงบิดเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต้องการได้  โดยที่การควบคุม DTC ทำการควบคุม
แรงบิดโดยตรงจึงมีชื่อเรียกว่า  Direct (Flux and)  Torque Contro
         แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า การควบคุมแบบ DTC ก็จำเป็นต้องใช้ข้อมูลพารามิเตอร์ของมอเตอร์
เช่นเดียวกันกับการควบคุมแบบเวกเตอร์ แต่อาจจะแตกต่างกันที่โดยทั่วไป DTC จะคำนวณฟลักซ์
แลแรงบิดจากแบบจำลองลักษณะพลวัตทางด้านสเตเตอร์ ( Stator dynamic) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูล
ความเร็วของมอเตอร์ ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้วการควบคุมแบบ จึงทำงานได้โดยไม่ต้องใช้เซนเซอร์วัดความเร็ว
 (Sensorless) 
         ส่วนคุณสมบัติของระบบ DTC เมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมแบบเวกเตอร์แล้วจะไม่แตกต่าง
กันมากนัก แต่การควบคุมแบบ DTC จะต้องระวังการทำงานในย่านความเร็วต่ำ ซึ่งเป็นย่านที่แรงดัน
ตกคร่อมความต้านทานสเตเตอร์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของทั้งฟลักซ์และแรงบิดค่อนข้างมาก
5. อินเวอร์เตอร์แบบ Sensorless Vector Control
           ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์แบบ  Sensorless Vector Control 
ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งอินเวอร์เตอร์ที่มีคุณสมบัติการควบคุมแรงบิดและ
ความเร็วใกล้เคียงกับระบบควบคุมระบบควบคุมเวกเตอร์ นอกจากนั้นการทำงานของระบบนี้
ก็ไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งเซนเซอร์วัดความเร็วด้วย จึงให้ความสะดวกในการใช้งานเหมือนกับ
อินเวอร์เตอร์แบบ V/F   ในอินเวอร์เตอร์แบบ Sensorless ความเร็วของมอเตอร์จะถูกคำนวณโอยอาศัย
แบบจำลองของมอเตอร์เหนี่ยวนำ หากค่าความเร็วมอเตอร์ในตัวแบบจำลองมีค่าถูก ต้องสัญญาณกระแส 
แรงดัน ฯลฯ ที่คำนวณได้ก็จะตรงกับค่าที่คำนวณได้  ในทางกลับกันหากค่าความเร็วมอเตอร์ใน
ตัวแบบจำลองผิดพลาดก็จะส่งผลทำให้ค่ากระแส แรงดัน ฯลฯ ที่คำนวณได้คลาดเคลื่อนไปจากค่าที่วัดได้จริง
 เราสามารถใช้ค่าความผิดพลาดเหล่านี้ในการปรับเปลี่ยนค่าความเร็วให้มีค่าถูกต้องได้ ตัวอย่างระบบ 
ถึงแม้เทคโนโลยี  Sensorless  จะได้พัฒนามานานพอสมควรแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีบัญหาในการใช้งาน
อยู่บ้างโดยเฉพาะในขณะที่มอเตอร์ทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (ช่วงที่แรงบิดเป็นลบ)ในย่านความเร็วต่ำ  
ซึ่งเป็นภาวะการทำงานที่ความถี่แรงดันที่เราจ่ายให้มอเตอร์น้อยมาก ผลกระทบจากความไม่เป็นอุดมคติ
ของสวิตซ์กำลังและความคลาดเคลื่อนของค่าพารามิเตอร์ของมอเตอร์จะทำให้ระบบไม่สามารถควบคุมแรงบิด
ได้ดี และอาจขาดเสถียรภาพได้ด้วย ปัญหาดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการวิจัยหาแนวทางแก้ไข
< 24 January 2012 08:44:46 >
 

Suggestion
     
Name : *
       
  Messages : *
       
  Picture :  
     
       
  E-Mail :  
 



HOME Contact Payment E-Mail
Web hosting | website builder |เว็บไซต์สำเร็จรูป by ninenic ©Copyright 2002-2024 All rights reserved.
บริษัท เมค-เทคโนโลยี่ จำกัด
140/24 หมู่ 8 แขวงหนองจอก
เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
Tel : 097-243-5950,02-989-9988 Fax: 029899989
Email : sales@mectechth.com ; info@mectechth.com